บทความนี้แปลและเรียบเรียงเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา มิได้มุ่งหวังผลประโยชน์ด้านอื่นใด
This article was translated for education, not for any other profit.
Artist: Marcel Duchamp 1887–1968
Title: Fountain
Date: 1917, replica: 1964
Medium: Porcelain
Dimensions: Unconfirmed: 360 x 480 x 610 mm
Collection: Tate
Reference: T07573
http://www.tate.org.uk/art/artworks/duchamp-fountain-t07573
Retrieved on 10/07/2014
ข้อเขียนโดย โซเฟีย โฮเวิร์ด – เมษายน 2000 พิพิธภัณฑ์ศิลปะแทท ประเทศอังกฤษ
“Fountain “เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงข องศิลปิน Marcel Duchamp และเป็นสัญลักษณ์แห่งศิลปะในศตวรรษที่ 20 ผลงานชิ้นจริงที่เป็นโถปัสสาวะชาย พร้อมลายเซ็น “R. Mutt 1917” กำกับอยู่ โดยการวางโถปัสสาวะนอนราบกับพื้นในตำแหน่งที่ผิดไปจากการติดตั้งเพื่อใช้งานจริงตามหน้าที่ของโถปัสสาวะชาย ผลงานจริงได้สูญหายไปแล้ว พิพิธภัณฑ์ Tate ได้จำลองผลงานชิ้นนี้ขึ้นในปี 1964 ด้วยวัสดุเครื่องเคลือบดินเผาไฟต่ำและเคลือบสี (glazed earthenware painted) ให้เหมือนกับของเดิมที่เป็นเครื่องเคลือบดินเผาไฟสูง (porcelain) พร้อมลายเซ็นที่จำลองขึ้นด้วยการเขียนด้วยหมึกดำ ผลงานชิ้นนี้เป็นตัวอย่างของงานที่ศิลปินเรียกว่า “readymade” คือผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ศิลปินได้คัดเลือกและเฉพาะเจาะจงว่า มันคืองานศิลปะ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของรูปแบบแนวทางและรสนิยมของกลุ่มดาดา ที่สะดุดตา เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และรู้จักเป็นอย่างดี

แนวคิดดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการพูดคุยถกเถียงกันระหว่างศิลปินและเพื่อนนักสะสมชาวอเมริกันชื่อ Walter Arensburg และศิลปิน Joseph Stella หลังจากการพูดคุยกัน ดูชอมได้นำโถปัสสาวะชายจากร้านขายอุปกรณ์สุขาภิบาล และส่งเข้าร่วมแสดงในงานนิทรรศการที่ถูกจัดขึ้นโดยสมาคมศิลปินอิสระ (Society of Independent Artists- สมาคมศิลปินอเมริกัน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1916 ตั้งอยู่ในเมืองนิวยอร์ก) คณะกรรมการบริหารสมาคมได้ปฏิเสธการเข้าร่วมแสดงของผลงานชิ้นนี้ ทั้งดูชอม และอเรนส์เบิร์คผู้เป็นสองกรรมการในคณะบริหารชุดนี้ จึงได้ลาออกจากตำแหน่งเป็นการประท้วงการตัดสินใจของคณะกรรมการ พร้อมกันนั้นได้มีบทความถูกเผยแพร่สู่สาธารณะโดยเป็นที่เข้าใจว่าผู้เขียน คือ มาเซล ดูชอม นั่นเอง ในบทความกล่าวว่า โถปัสสาวะของมิสเตอร์มูทท์ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดทำนองครองธรรม หรือผิดปกติแต่อย่างใด มันเป็นแค่โถปัสสาวะที่ไม่ได้มีความพิเศษ หรือผิดปกติไปกว่าอ่างอาบน้ำ ซึ่งพวกเราก็เห็นตั้งกันอยู่ทุกวันหน้าร้านขายเครื่องสุขภัณฑ์และระบบสุขาภิบาล ไม่ว่ามันจะเป็นฝีมือมิสเตอร์มูทท์เองหรือไม่ ผลงาน Fountain ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไร มากไปกว่า สิ่งซึ่งศิลปินได้เลือก และทำมัน เขาได้นำบทความดังกล่าวนี้ไปติดไว้ เพื่อทำให้ตัวประโยชน์ใช้สอยของโถปัสสาวะหมดความสำคัญลงภายใต้ชื่อ และมุมมองที่ตัวศิลปินต้องการให้เป็น เป็นการสร้างสรรค์ทางความคิดในมุมมองใหม่ให้กับวัตถุ (บทความ ‘The Richard Mutt Case’, The Blind Man, New York, no.2, May 1917, p.5. นิตยสารดาดา ในนิวยอร์ค)
ในช่วงปลายของชีวิตดูชอม เขาได้ให้ความเห็น ในชื่อที่หมายถึงตัวตนของเขาในผลงาน ว่า Mutt มาจากคำว่า Mott Work ซึ่งเป็นชื่อของโรงงานขนาดใหญ่ที่ผลิตสุขภัณฑ์ แต่หากการใช้ชื่อ Mott มันจะฟังดูใกล้เคียงกับชื่อจริงมากเกินไป เขาจึงใช้คำว่า Mutt แทน ซึ่งมันเกิดขึ้นมาจากการ์ตูนช่องในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันอเมริกันที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยของผู้คนในขณะนั้น คือ “Mutt and Jeff” ด้วยบุคลิกของชายร่างอ้วนเตี้ยที่ดูสนุกสนานอย่าง Mutt และผอมสูงอย่าง Jeff ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นเคยและอยู่ในความนิยมของผู้คน ตามที่ศิลปินต้องการจะให้เป็น และยังเพิ่มชื่อ Richard ที่มีความหมายในภาษาฝรั่งเศส ที่หมายถึงถุงใส่เงิน ด้วยการใช้ตัวอักษร R นำหน้า Mutt ดูชอมได้ใช้ลายเซ็นนี้โดยที่เขาตระหนักอยู่เสมอว่า ตัว R เป็นตัวอักษรย่อของชื่อ อิโรเซ ราเวีย ซึ่งก็คือตัวของศิลปินเอง ที่มักจะปรากฏขึ้นเสมอๆ ในงานของเขาในช่วงสองปีหลัง (และยังปรากฏในจดหมายที่ตัวของดูชอมมักจะกล่าวถึง Mutt ในฐานะที่เป็นสุภาพสตรี บางคนตั้งข้อสังเกตว่าการที่โถปัสสาวะถูกวางนอนราบกับพื้นในลักษณะที่ผิดธรรมชาติการใช้สอยนั้น มีลักษณะโค้งเว้าไปตามสัดส่วนของร่างกายเพศหญิง และเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาของศิลปิน ที่ต้องการเล่นกับขอบเขตและข้อจำกัดทางด้านเพศ อันเป็นแนวคิดที่สำคัญยิ่งในการเป็นศิลปินของศิลปิน มาเซล ดูชอม

อ้างอิงภาพ: https://creativeserendipitymemories.files.wordpress.com/2014/05/mutt__jeff_2.jpg
หลังจากนิทรรศการในปี 1917 ดูชอมได้นำผลงาน Fountain ไปให้เพื่อนของเขา คือ Alfred Steiglitz ผู้เป็นทั้งช่างภาพและเจ้าของห้องจัดแสดง เป็นผู้ถ่ายภาพผลงาน จึงทำให้ผลงานจริงได้มีการบันทึกภาพเก็บไว้ เพราะหลังจากนั้นผลงานชิ้นนี้ได้สูญหายไป

อ้างอิงภาพ: https://en.wikipedia.org/wiki/Fountain_(Duchamp)
ภาพที่ปรากฏอยู่ด้านบน คือ ผลงานที่ทำจำลองขึ้น และได้กลายเป็นตัวต้นแบบให้กับผลงานจำลองในชิ้นหลังๆ ต่อมา ซึ่งมีทั้งหมด 15 ชุด ที่ได้ถูกจำลองขึ้นอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์จำนวน 4 ครั้ง คือ ในปี 1951 1953 1963 และ 1964 ผลงานชิ้นที่สะสมอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Tate คือผลงานชิ้นที่ 2 ในชุด 8 ชิ้นที่ผลิตโดย the Galleria Schwarz ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อตุลาคม ปี 1964 นอกจากนี้ ยังมีแผ่นป้ายที่ฐานแกะสลักลายเซ็นมาเซล ดูชอม ในแต่ละชิ้นงาน พร้อมบอกวันที่สร้างสรรค์ผลงานจริง และจำลองผลงาน ชื่อผลงาน ผลงานชุดที่ และชื่อผู้ผลิต คือ ‘Galleria Schwarz, Milan’